วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวาดรูปและระบายสี

  การวาดภาพระบายสีใช้สีพลาสติก ( สีทาบ้าน )ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษ มีส่วนผสมที่สำคัญ คือ PVA ( Polyvinyl alcohol )

    สาร PVA มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ล้างหรือผสมน้ำได้ในขณะที่เปียก แต่เมื่อแห้งแล้วไม่สามารถซักล้างได้จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ทำเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการความถาวร

          เทคนิคการระบายสีพลาสติก

เทคนิคการระบายสีพลาสติก จะแบ่งสีออกเป็น 2 โทน โดยผสมสีลงบนจานสีเป็นชุด ๆ ดังนี้

    สีโทนเย็น มีดังนี้

- ชุดที่ 1 ดำ - น้ำเงิน - เขียวแก่

- ชุดที่ 2 เขียวแก่ - เขียวอ่อน - เหลือง

- ชุดที่ 3 น้ำเงิน - เขียวแก่ - เขียวอ่อน

    สีโทนร้อน มีดังนี้

- ชุดที่ 1 ดำ - น้ำตาล - แดง

- ชุดที่ 2 น้ำตาล - แดง - ส้ม

- ชุดที่ 3 แดง - ส้ม - เหลือง

เทคนิคการระบายสีน้ำพลาสติกที่สวยงาม คือ

1. ใช้สีเข้มไล่ขึ้นไปโดยใช้น้ำเป็นตัวให้สีแพร่กระจายออก

2.ถ้าจะให้สีดูกลมกลืนเหมือนเป็นสีเดียวกันควรระบายขณะที่อีกสีหนึ่งเปียก

3.ไม่ควรระบายสีโทนร้อนและโทยเย็นผสมเข้าด้วยกันเพราะจะทำให้สี  เมื่อดูแล้วขัดกันและไม่กลมกลืนกันนั่นเอง

 
   วัตถุประสงค์
1.เพื่อความเพลิดเพลิน ด้วยการถ่ายทอด อารมณ์และความรู้สึก

2.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3.เพื่อฝึกการคิดในทางสร้างสรรค์ และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ

4.เพื่อฝึกทักษะการวาดภาพ

5.เพื่อฝึกสมาธิ

     กระบวนการทำงาน

   ทักษะย่อย  คือ คิดอย่างเป็นระบบ โดย

-เริ่มวางแผนก่อนว่าจะวาดรูปอะไร  จะวาดไว้ตรงไหนของแผ่นผ้าที่สกินเรียบร้อยแล้ว 

-เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

   ขั้นตอนจริง

1.วาดรูปลงบนผ้าที่สกินวันเดือนปี เรียบร้อยแล้ว ด้วยปากกาดำหรือวาดด้วยพู่กันโโยใช้สีดำวาดภาพเลยก็ได้

2.รอจนแห้ง

3.เริ่มใส่สีสันตามโทนสีหรือแล้วแต่เราก็ได้ตามรูปภาพที่วาดไว้ให้เรียบร้อย รอจนแห้ง

4. อาจมีการเน้นภาพด้วยสีดำอีกครั้ง  เน้นเพื่อให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเด่นชัดขึ้นมา เป็นอันเสร็จ

     การประเมินผลงานด้วยตนเอง

   ภาพที่ได้ลงมือทำดูแล้วสวยงามตามที่ตนได้วางแผนไว้และเกิดความพึงพอใจ  ภาพดูสวยงาม  สีสันดูกลมกลืนตามโทนสีไม่เป็นชั้นๆ

     การนำไปประยุกต์ใช้

1.ประยุกต์โดยนำไปใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ  ใช้กับวิชาศิลปะ และวิชาการงานอาชีพ

2.ประยุกต์โดยทำเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็ก เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆได้

3.ประยุกต์โดยนำเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบไปสอนเด็กได้ในเรื่องของการวาดรูป ถ้าเราคิดอย่างเป็นระบบได้เราก็ไม่ต้องใช้ดินสอร่างใช้ปากกาดำหรือพู่กันวาดจริงได้เลย

4.ประยุกต์โดยนำเรื่องการระบายสีไปสอนเด็กๆได้ ให้เด็กลองทำดูเป็นผลงานของตนเองแล้วเด็กจะเกิดความภูมิใจ

5.สามารถนำวิธีคิดอย่างเป็นระบบไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ

6.สามารถนำผลพลอยได้จากวัสดุ   ไปสร้างรายได้ให้กับตนเอง 

การพิมพ์ sill Screen

   การพิมพ์ Silk Screen

      Silk Screen   คือการพิมระบบ  stencil  ชนิดหนึ่งโดยใช้ผ้าไนลอน เป็นแม่พิมพ์เป็นฉากกั้น ให้สีพิมพ์ฝนลวดลายบนผ้าไนลอนไปปรากฏที่วัสดุ

  มีอุปกรณ์  ได้แก่



- ผ้าดิบฟอกขา


- สีพิมพ์ เป็นสีพิมพ์ผ้า ( สีจม )  มักจะใช้กับผ้าที่มีอ่อน




- เฟรมแม่พิมพ์หรือบล็อกแม่พิมพ์ ( ปฏฺิทินปี 2556 )



- ไม้ปาดสี




- แท่นพิมพ์

วิธีการทำเฟรมแม่พิมพ์
   ขั้นที่ ๑
ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกันในอัตราส่วน กาวอัด 5 ส่วน  น้ำยาไวแสง 1 ส่วน
คนให้เข้ากัน
   ขั้นที่ ๒
นำกาวอัดที่ผสมกันแล้วเทลงบนบล็อกสกรีน
   ขั้นที่ ๓
เอายางปาดฉาบกาวอัดดังกล่าวฉาบหน้าบล็อกทั้ง ๒ ด้าน
   ขั้นที่ ๔
นำบล็อกที่ฉาบกาวอัดแล้วเป่าด้วยไดเป่าผมให้แห้ง  สนิททั้ง ๒ ด้านแล้วเก็บไว้ในที่มืด
เพราะบล็อกที่ฉาบกาวแห้งแล้วเปรียบเหมือนฟิลม์ไวแสงที่จะมีปฏิกิริยากับแสงได้ต้องระวัง.
   ขั้นที่ ๕
นำแบบที่เขียนไว้แล้ว  ต้องเขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษไขแบบโปร่งแสง)
เอาบล็อกสกรีนมาฉาบด้วยกาวอัดแล้วมาถ่ายด้วยไฟนีออน  นำไปล้างน้ำ  จะได้บล็อกสกรีนที่พร้อมพิมพ์ได้ทันที

     

      




ผลงานการทำปฏิทิน